ศาสตร์ของการออกแบบที่นอน

9850 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศาสตร์ของการออกแบบที่นอน



      เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเราไม่ปวดหลังเวลายืนนานๆ แต่ทำไมเวลานอนและตื่นขึ้นมามักจะปวดหลังอยู่เสมอ 
สาเหตุหลักๆก็คงมาจากที่นอนและท่าการนอนหลับ เราคงมาพูดถึงเฉพาะในส่วนของที่นอน ส่วนแรกต้องดูว่าที่นอน
ของเราได้ใช้มานานหรือยังเช่น 5 - 10 ปีขึ้นไป แน่นอนว่าที่นอนที่ผ่านการใช้งานมานานย่อมเสื่อมไปตามสภาพ
มีการยุบตัวของวัสดุที่ใช้ทำที่นอนหรือค่าความแน่น(Density)ของวัสดุลดลง ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพการรองรับร่างกาย
อย่างถูกสุขลักษณะน้อยลง บางท่านอาจจะบอกว่าเพิ่งซื้อที่นอนมาใช้ได้ไม่นานนี้เองทำไมปวดหลังแล้ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าที่นอนหลังนั้นใช้วัสดุคุณภาพต่ำซึ่งทำให้ความหนาแน่นของวัสดุลดลงมาเร็วทำให้ที่นอนยุบและนุ่มกว่าเดิม ก็คงต้องรบกวนให้คุณตรวจสอบสภาพความนุ่มแน่นของที่นอนว่าแข็งไปหรือนุ่มไปหรือไม่ เพราะไม่ว่าแข็งเกินไปหรือนุ่มเกินไปจะเป็นส่วนสาเหตูหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังตามเหตุผลดังต่อไปนี้

       ที่นอนแข็งเกินไปตรวจสอบได้ด้วยการนอนหงายลงบนที่นอนแล้วเอามือสอดไปใต้ช่วงเอวและหลังของเราถ้าสอดได้แสดงว่าที่นอนแข็งเกินไปทำให้หลังลอยทำให้ปวดหลังได้  ที่นอนนิ่มเกินไปตรวจสอบด้วยการนอนหงายเช่นกันแล้วเอามือสอดไปใต้หลังช่วงเอวจะพบว่าสอดมือเข้าไม่ได้และให้ลองพลิกตัวไปมาถ้าพลิกตัวลำบากต้องใช้แรงในการพลิกตัวเยอะแสดงว่าที่นอนนิ่มเกินไป
      ดังนั้นหลักในการออกแบบที่นอนโดยทั่วไปจะต้องออกแบบให้วัสดุส่วนบนสุดของที่นอนมีความนุ่มอย่างน้อย 3-5 cm 
เพื่อให้ร่างกายโดยเฉพาะส่วนก้นและสะโพกจมลงไปในที่นอนได้เพื่อป้องกันหลังลอย หลังจะได้สัมผัสที่นอนและได้รับการรองรับจากที่นอน (วัสดุส่วนบนจะต้องใช้วัสดุที่มีคุณภาพมีความหนาแน่นปานกลางถึงสูงและยืดหยุ่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการยุบตัวเร็ว)  ส่วนชั้นกลางหรือชั้นวัสดุรองลงมาควรจะต้องมีความแน่นหรือแข็งกว่าวัสดุชั้นบนเพื่อช่วยรองรับก้นและสะโพกไม่ให้จมลงไปในที่นอนมากเกินไป จนทำให้หลังงอมากเกินไป ส่วนฐานล่างสุดวัสดุที่ใช้แน่นอนว่าจะต้องแข็งหรือแน่นกว่าชั้นกลางเพื่อช่วยเสริมการรองรับของ
วัสดุชั้นกลางด้วยค่ะ

Articles
- เกร็ดการเลือกซื้อที่นอน
- ศาสตร์ของการออกแบบที่นอน
- Removable Layer
- Bamboo : มหัศจรรย์จากธรรมชาติ
ดูทั้งหมด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้